ประวัติและความเป็นมา :
- 16 กรกฎาคม 2512 เป็นวันที่หอสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ได้เริ่มเปิดให้บริการโดยมีอาจารย์ทำหน้าที่บรรณารักษ์ 1 คน และภารโรงอีก 1 คน อาคารหอสมุดซึ่งสร้างด้วยเงินงบประมาณ เป็นเงิน 1,500,000 บาท มีพื้นที่ 800 ตารางเมตร พื้นที่ขนาดดังกล่าวนี้จะเพียงพอสำหรับบรรจุหนังสือ ได้ไม่เกิน 50,000 เล่ม
มิถุนายน 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไม่ได้ระบุวิทยาเขต ทางมหาวิทยาลัยจึงได้นำหอสมุดของวิทยาเขตแต่ละแห่งไปสังกัดกองธุรการ วิทยาเขต โดยให้เป็นงานหนึ่งเรียกว่า งานหอสมุด
25 กรกฎาคม 2529 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในฉบับพิเศษหน้า 36-42 เล่มที่ 103 ตอนที่ 139 ลงวันที่ 7 สิงหาคม พุทธศักราช 2529 ให้มีส่วนราชการสำนักวิทยบริการ ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยนำพื้นฐานงานหอสมุดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักวิทยบริการและมีสถานภาพ เทียบเท่าคณะ
พ.ศ 2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคามสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย สำนักวิทยบริการจึงได้สังกัดอยู่ภายใต้การบริหารของ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจากนั้นจนถึงปัจจุบัน
ปรัชญา :
- แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เสริมความรู้ ความคิด ภูมิปัญญา
ปณิธาน :
- มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการบริการสารสนเทศ เพื่อสนองความต้องการ ของผู้ใช้บริการด้วยจิตสำนึกที่ดี และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
วิสัยทัศน์ :
- สำนักวิทยบริการมุ่งสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ระดับสากลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน และสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
คำอธิบายวิสัยทัศน์ :
- เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอน และการวิจัยให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ดำเนินการจัดหา จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะผู้ใช้บริการ ทุกประเภท เนื้อหาครอบคลุมทุกหลักสูตรการเรียนการสอน แลทุกกลุ่มผู้ใช้บริการ มีการรวบรวม จัดหา จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
แก่ผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
พันธกิจ :
- จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมทุกหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
- บริการสารสนเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- บริการวิชาการแก่ชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
- พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมทุกหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
- เพื่อบริการสารสนเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- เพิ่อบริการวิชาการแก่ชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
- เพื่อพัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว
ค่านิยมหลัก (Core Values) :
การเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศและความช่วยเหลือด้วยความกระตือรือร้น ให้คำแนะนำที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ มุ่งมั่นสร้างความประทับใจ ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก รวดเร็วถูกต้อง ไม่นั่งรอคอยรับ แต่เป็นฝ่ายริเริ่มให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้และสารสนเทศ
ที่ต้องการให้เกิดความทรงจำที่ดีต่อสำนักวิทยบริการ
- บริหารโปร่งใส (Transparency)
มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และความถูกต้อง ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตรวจสอบได้ ปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมสร้างความไว้วางใจทั้งภายในภายนอก
- ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี (Technology)
มุ่งพัฒนาองค์กรให้ทันเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านบริหารจัดการและบริการสารสนเทศ โดยเพิ่มสมรรถนะในการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายในทุก ๆ ระดับ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการบริหารและบริการ
- มีความร่วมมือ (Cooperation)
มีการสร้างกัลยาณมิตรในวงวิชาชีพและสาขาที่เกี่ยวข้องและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสถาบันบริการสารสนเทศในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ เพื่อขยายขีดความสามารถในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนบริหารจัดการ และบริการสารสนเทศที่คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
- ยึดถือการเรียนรู้สู่ทีมคุณภาพ (Continuous Learning and Quality Improvement Teamwork)
บุคลากรมุ่งมั่นพัฒนา เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีการแบ่งปันและต่อยอดความรู้ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน มีกระบวนการทำงานร่วมกันทั้งภายในองค์กรและเครือข่ายภายนอก ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อเพิ่มคุณภาพและขีดความสามารถการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
สมรรถนะหลักขององค์กร :
A : Access Ability เข้าถึงง่าย หมายถึง การเข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา
R : Resource Sharing ใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การให้บริการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
E : Excellent Services บริการสร้างสรรค์เป็นเลิศ หมายถึง การให้บริการสารสนเทศด้วยจิตบริการอย่างสร้างสรรค์
C : Center for Lifelong Learning ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง การเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต