หมวด 2

โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน (เอกสารหลักฐาน)
เกณฑ์การดำเนินงาน
     ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะกายภาพที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด
กรณีเป็นอาคารเก่า ต้องมีแผนงานและมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
1. มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิม ที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม      สำนักวิทยบริการ อาคารวิทยบริการ A มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ ณ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เริ่มเปิดใช้งานอาคารเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2544 ปัจจุบันมีอายุการใช้งาน 18 ปี เป็นอาคาร 4 ชั้น มีเนื้อที่ 15,000 ตารางเมตร ก่อสร้างด้วยงบประมาณ 140 ล้านบาท ตามแบบแปลนอาคารพิมพ์เขียวในการก่อสร้างและแผนผังภายในที่รับรองโดยวิศวกรอย่างถูกต้อง (เอกสารหมายเลข 2.1-1)
     เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนาน และสภาพของอาคารเก่าและเริ่มชำรุด เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาจากการเสื่อมสภาพของหลังคา เกิดน้ำรั่วซึมและเอ่อนองตามพื้นหลายจุด อีกทั้งหลังคาเดิมมีลักษณะโปร่งแสงไม่มีฉนวนกันความร้อน ส่งผลให้แสงแดดเข้าภายในตัวอาคารมากเกินไป ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงาน สำนักวิทยบริการ จึงได้พิจารณาทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นและขอความอนุเคราะห์ดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุง (เอกสารหมายเลข 2.1-2)
     และจากนโยบายพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เพื่อเป็นหน่วยงานที่สร้างเสริมและใส่ใจการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตลอดจนสภาพปัญหาที่พบ จึงได้ขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเข้ามาศึกษาสภาพ ปัญหา และอุปสรรคของอาคารสำนักวิทยบริการ ที่มีต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (กรณีเป็นอาคารเก่า) (เอกสารหมายเลข 2.1-3) ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะผู้บริหารได้ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นและร่วมวางแผนทำการศึกษาสภาพปัญหากับอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งผลการศึกษาสภาพอาคารโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคาร พบว่า
     1. การใช้วัสดุหลังคาติดตั้งฉนวนกันความร้อน
       ผลการตรวจสอบ พบว่า วัสดุหลังคาไม่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน
       ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง คือ ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนให้กับบริเวณหลังคาของอาคาร เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวน PU แผ่นยิปซั่มบอร์ด หรือแผ่นอลูมิเนียมฟอย
     2. การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอกหรือใช้ผนัง 2 ชั้นที่มีช่องว่างอากาศระหว่างชั้นเพื่อกันความร้อนจากภายนอก
       ผลการตรวจสอบ พบว่า ไม่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอกหรือใช้ผนัง 2 ชั้น ที่มีช่องว่างอากาศระหว่างชั้นเพื่อกันความร้อนจากภายนอก
       ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง คือ ควรพิจารณาติดตั้งติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือใช้วัสดุปกปิดผิวอาคารเพิ่มเติมในจุดที่ได้รับผลกระทบจากแสงอาทิตย์โดยตรงเพื่อช่วยป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์
     3. สีของผนังทึบภายนอก/คุณสมบัติดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์/การติดตั้งฉนวนกันความร้อนด้านหลังบริเวณที่ใช้สีเข้ม
       ผลการตรวจสอบ พบว่า ผนังทึบภายนอกมีลักษณะเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนทาสีขาว ซึ่งเป็นสีโทนอ่อนมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์เท่ากับ 0.3 ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนหรือดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์ในระดับต่ำ นอกจากนี้อาคารยังมีส่วนประกอบผนังทึบเป็นแบบผนังก่ออิฐฉาบปูนตกแต่งด้วยกระเบื้องลายอิฐแดง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีผิวสีค่อนข้างเข้มมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์เท่ากับ 0.7 ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนหรือดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์ในระดับค่อนข้างสูง
       ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง คือ เสนอให้มีการปรับปรุงวัสดุตกแต่งผิวผนังของอาคารให้มีการใช้สีโทนอ่อนลง หรืออาจใช้วิธีการปลูกพืชเพื่อให้ร่มเงาแก่อาคารในส่วนผนังทึบด้านที่ต้องรับแสงแดดโดยตรง (เอกสารหมายเลข 2.1-4) จากการรายงานผลการศึกษาดังกล่าว คณะผู้บริหารและคณะกรรมการฯ ได้ร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานตรวจสอบและหาแนวทางดำเนินงานแก้ไขและปรับปรุงต่อไป (เอกสารหมายเลข 2.1-5)
2. มีการกำหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม       สำนักวิทยบริการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 และ 2562 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงโครงสร้าง โดยได้รับจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 (เอกสารหมายเลข 2.2-1) และ (เอกสารหมายเลข 2.2-2) จากแผนปฏิบัติงาน คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขึ้น โดยบรรจุแผนงานโครงการปรับปรุงโครงสร้างหลังคาป้องกันความร้อนไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.2-3) สำนักวิทยบริการ ดำเนินงานการปรับปรุงโครงสร้างหลังคาและซ่อมแซมพื้นดาดฟ้าให้เอื้อต่อการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดพลอย 2016 ตามแบบสรุปราคากลางงานก่อสร้าง และผังแม่บทปรับปรุงโครงสร้างหลังคาและซ่อมแซมพื้นดาดฟ้า อาคารสำนักวิทยบริการ A (เอกสารหมายเลข 2.2-4) ซึ่งบริษัทได้ขอเข้าปฏิบัติงานตกแต่ง ต่อเติมและซ่อมแซมพื้นดาดฟ้าอาคารสำนักวิทยบริการ บริเวณชั้น 4 และหลังคาดาดฟ้าระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน 2562 – 14 สิงหาคม 2562 จนแล้วเสร็จ (เอกสารหมายเลข 2.2-5)
3. มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ       สำนักวิทยบริการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ยุทธศาสตร์ที่ พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว โดยได้บรรจุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสภาพอากาศในอาคารสำนักวิทยบริการไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.3-1) และ (เอกสารหมายเลข 2.3-2) จากแผนปฏิบัติงาน คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรและพลังงาน สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขึ้น โดยบรรจุกิจกรรมการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.3-3) สำนักวิทยบริการได้ดำเนินการขอความอนุเคราะห์ไปยังกองอาคารสถานที่เพื่อบำรุงรักษาระบบปรับอากาศทันทีเมื่อชำรุด (เอกสารหมายเลข 2.3-4) เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีผลการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ การล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ จากจำนวนเครื่องปรับอากาศ ทั้งหมด 242 เครื่อง ได้ดำเนินการล้างระบบเครื่องปรับอากาศ จานวน 237 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 97.93 โดยการล้างเครื่องปรับอากาศจะดำเนินการในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ของทุกปี โดยกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เอกสารหมายเลข 2.3-5) นอกจากนี้เพื่อเป็นดำเนินการประหยัดการใช้พลังงาน สำนักวิทยบริการได้ประกาศเรื่องมาตรการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว จึงได้กำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้บุคลากรและผู้ใช้บริการถือปฏิบัติ (เอกสารหมายเลข 2.3-6) จากผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา พบว่า สภาพเครื่องปรับอากาศระบบชีลเลอร์ มีอายุการใช้งานมา 18 ปี ส่งผลให้ขัดข้องบ่อย เครื่องคอมเพลสเซอร์ชำรุด คอยเย็นชำรุด ทำให้สภาพอากาศภายในอาคารสำนักวิทยบริการไม่เหมาะสำหรับการใช้บริการศึกษาค้นคว้า สำนักวิทยบริการได้แจ้งไปยังกองอาคารสถานที่เพื่อเข้าตรวจสอบ บำรุงรักษา และปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้มาโดยตลอด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการเปลี่ยนเครื่องปรับ อากาศระบบชิลเลอร์จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ให้กับสำนักวิทยบริการจำนวน 2 ตัว (เอกสารหมายเลข 2.3-7) และในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ได้รับจัดสรรงบประมาณในการเพิ่มเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน จำนวน 10 เครื่อง เพื่อทดแทนของเดิมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับอากาศให้ดีขึ้นและประหยัดพลังงาน (เอกสารหมายเลข 2.3-8)
4. มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน       จากแผนปฏิบัติงานประจำปี (Action Plan) สำนักวิทยบริการ ข้างต้น คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรและพลังงาน สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขึ้น โดยบรรจุกิจกรรมปลดหลอดไฟฟ้าบริเวณที่มีแสงสว่าง ไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.4-1) โดยสำนักวิทยบริการได้ดำเนินกิจกรรมปลดหลอดไฟฟ้าภายในสำนักวิทยบริการบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอแล้ว ทั้งนี้เพื่อช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย จำนวน 100 หลอด (เอกสารหมายเลข 2.4-2) นอกจากนี้ เนื่องจากสำนักวิทยบริการ เป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศนิสิต มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากเป็นลำดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จึงถูกเลือกให้เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากเดิมเป็น LED จำนวนทั้งสิ้น 2,577 หลอด (เอกสารหมายเลข 2.4-3) ส่งผลให้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2560 สำนักวิทยบริการมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 13.24 % (เอกสารหมายเลข 2.4-4) และในปี 2560-2561 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งมหาวิทยาลัยลดลง 6.98 % (เอกสารหมายเลข 2.4-5)
5. มีแผนงานการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว      จากแผนปฏิบัติงานประจำปี (Action Plan) สำนักวิทยบริการ ข้างต้น คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ขึ้น โดยบรรจุกิจกรรมจัดภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชดูดซับก๊าซ เพื่อตกแต่งสถานที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดมลพิษ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.5-1) โดยได้ดำเนินการจัดสวนหย่อมด้วยพืชที่สามารถอยู่ในที่ร่มได้ ช่วยให้ดูร่มรื่นสวยงามมีบรรยากาศน่าเข้าใช้บริการ ปลูกพลูด่าง ลิ้นมังกรช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลูกต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหาร บริเวณรอบอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.5-2) นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการ มีความตระหนักถึงความยั่งยืนในการดำเนินงานพัฒนาไปสู่ห้องสมุดสีเขียว (Green Library) จึงได้จัดทำเรือนเพาะชำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบำรุงรักษา เพาะพันธุ์กล้าไม้ การขยายพันธุ์พืช การอนุบาลต้นไม้ สลับสับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความสวยงามภายในอาคารและภายนอกอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.5-3) ส่วนภายนอกอาคารมีการปลูกต้นไม้และตกแต่งอาคารภายนอกให้ดูร่มรื่น มีความสวยงามเหมาะสมกับพื้นที่ของอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.5-4) ตลอดจนจากผลการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิม ที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ผนังด้านนอกอาคารไม่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนจากภายนอก สำนักฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงโดยทำแผงปลูกไม้ประดับไม้เลื้อยเพื่อป้องกันแสงแดดและความร้อนบริเวณริมหน้าต่างกระจก ชั้นที่ 3 ฝั่งทิศตะวันออกของอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.5-5) เป็นต้น