หมวด 1

ทั่วไป

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน (เอกสารหลักฐาน)
1. การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์
1.1 การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้บริการความรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของชาติ 1.1 สำนักวิทยบริการจัดโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ฯ เพื่อทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประจำปี 2562-2565 (เอกสารหมายเลข 1.1-1) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ จัดทำ SWOT และจัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อประกอบการดำเนินงาน ได้มีการประกาศ [ วิสัยทัศน์บนเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ ] ประกาศ [ แผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการบนเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ ] ประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (MSU Green Library) (เอกสารหมายเลข 1.1-4) แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเกี่ยวกับนโยบายห้องสมุด สีเขียวผ่าน Web Site (เอกสารหมายเลข 1.1-5) [ ดูเพิ่มเติม ] ทำหนังสือเวียน นโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว และมาตรการประหยัดพลังงาน ไปยังหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 1.1-6) ปิดป้ายประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว และมาตรการประหยัดพลังงาน ในสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.1-7) และ แจ้งเวียนประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว ไปยังบุคลากรสำนักวิทยบริการเพื่อรับทราบทุกคน (เอกสารหมายเลข 1.1-8) ตลอดจน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ผู้อำนวยการและคณะผู้บริหารได้ประกาศและบรรยายให้บุคลากรได้รับฟังในการสัมมนาโครงการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (MSU Green Library) เพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมกันรับทราบแก่บุคลากรทุกคน (เอกสารหมายเลข 1.1-9)
พันธกิจ
1.2 เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และตรงตามต้องการของชุมชนและสังคม 1.2 สำนักวิทยบริการได้จัดหา จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังรายชื่อ (ทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง) [ http://lib3.msu.ac.th/search?/ftlist^bib35%2C1%2C0%2C2901/mode=2 ] จัดให้บริการสืบค้นสารสนเทศทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการได้ผ่าน WebOPAC ที่ [ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (WebOPAC) http://lib3.msu.ac.th/ สืบค้นจาก ฐานข้อมูลออนไลน์ ได้ที่ https://library.msu.ac.th/th/?page_id=1333 สำนักวิทยบริการได้จัดกิจกรรมการสอนการรู้สารสนเทศ แก่นิสิต อาจารย์ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่ให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสำนักวิทยบริการ : [ การฝึกอบรมการสืบค้น http://ilib.msu.ac.th/teachprogram/ ] [ กิจกรรมนำชมห้องสมุด https://library.msu.ac.th/th/?p=3927 ] มีการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ดัง สถิติการบริการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 และ ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 [ สถิติการให้บริการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 และ 2561 ] นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้สารสนเทศหลากหลายกิจกรรม เช่น : [ นิทรรศการในหลวงกับสิ่งแวดล้อม ] [ มุมความรู้ประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม 2559-2560 ] [ นิทรรศการบ้านรักษ์โลก 2561-ปัจจุบัน ] เป็นต้น
1.3 จัดหาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 และ พ.ศ. 2562 สำนักวิทยบริการ ได้ทำการจัดหาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเตรียมพร้อมออกให้บริการ รายงานผลการดำเนินงานดังนี้ [ สรุปผลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ] [ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ] ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำแนกเป็น [ หนังสือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ] [ วารสาร ] [ บทความวารสาร ] [ สื่อโสตทัศน์ ] [ ฐานข้อมูลออนไลน์ ] [ เว็บไซต์ ] [ YouTube ] [ เอกสารวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ] [ ARS บทความภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ] [ CPS กฤตภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ][ TPS ภาคนิพนธ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ] นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการได้รวบรวมข้อมูลบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีให้บริการ ได้จำนวน 11,575 ชื่อเรื่อง 20,402 รายการ คิดเป็นร้อยละ 5.03 ของทรัพยากรทั้งหมด (เอกสารหมายเลข 1.3-2) ดังรายชื่อ (ทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม) http://lib3.msu.ac.th/search?/ftlist^bib35%2C1%2C0%2C2901/mode=2
1.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.4 สำนักวิทยบริการ ได้จัดกิจกรรมการสอนการรู้สารสนเทศเพื่อส่งเสริมการใช้บริการและการเรียนรู้ โดยผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนหรือแจ้งความจำนงเข้าฝึกอบรมการสืบค้นสารสนเทศได้ที่ http://ilib.msu.ac.th/teachprogram/ และจัดกิจกรรมนำชมห้องสมุด https://library.msu.ac.th/th/?p=3927 ตามแต่ผู้ใช้บริการต้องการได้ทุกวัน-เวลา นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น 1. กิจกรรมส่งเสริมการใช้สารสนเทศ : กิจกรรมห้องสมุดพบคณะ (เอกสารหมายเลข 1.4-1-1) ดังสรุปผลการดำเนินโครงการห้องสมุดพบคณะ (เอกสารหมายเลข 1.4-1-2)
2. กิจกรรมส่งเสริมการใช้สารสนเทศ : Questions for you (เอกสารหมายเลข 1.4-2-1) คลิกลิงค์ Questions for you online และสรุปการดำเนินกิจกรรม Questions for you (เอกสารหมายเลข 1.4-2-2)
3. รวบรวมและจัดทำบรรณนิทัศน์หนังสือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.4-3) [ ฐานข้อมูลบรรณนิทัศน์ ]
4. นำกิจกรรมคัดแยกขยะ และเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศใน กิจกรรมบุญเบิกฟ้าและกาชาด (เอกสารหมายเลข 1.4-4)
1.5 ส่งเสริมให้บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.5 สำนักวิทยบริการ จัดกิจกรรมและส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดบ้อม ดังนี้ 1.5-1 โครงการอบรม เรื่อง การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (งบประมาณ พ.ศ. 2559 ) (เอกสารหมายเลข 1.5-1) 1.5-2 โครงการอบรมเชิงวิชาการเรื่อง “การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงาน” (งบประมาณ พ.ศ. 2560) (เอกสารหมายเลข 1.5-2) 1.5-3 โครงการฝึกอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว (งบประมาณ พ.ศ. 2561) (เอกสารหมายเลข 1.5-3) 1.5-4 ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวรูปแบบต่างๆ 1) ข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.5-4-1) https://library.msu.ac.th/th/?cat=6 2) เว็บไซต์ MSU Green Library https://library.msu.ac.th/msugreenlibrary/ 3) ประชาสัมพันธ์บน LINE ของสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.5-4-3) 4) ประชาสัมพันธ์บนเฟสบุ๊กส์สำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.5-4-4) 1.5-5 จัดนิทรรศการและมุมให้ความรู้ [ นิทรรศการในหลวงกับสิ่งแวดล้อม ] [ มุมความรู้ประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม 2559-2560 ] [ นิทรรศการบ้านรักษ์โลก 2561-ปัจจุบัน ] 1.5-6 รวบรวมและจัดทำบรรณนิทัศน์หนังสือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.5-6) [ ฐานข้อมูลบรรณนิทัศน์ ]
1.6 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.6 สำนักวิทยบริการดำเนินงานส่งเสริมการบริหารจัดการวัสดุ สินค้าและบริการต่างๆ ตาม คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.6-1) ได้รวบรวมและจัดทำบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.6-2) บุคลากรในสำนักวิทยบริการก็ใช้วัสดุส่วนตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.6-3)
เป้าหมาย
1.7 ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการให้บริการความรู้ตามบริบทของแต่ละห้องสมุด 1.7 สำนักวิทยบริการ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานและเป้าหมายการเป็นแหล่งความรู้ โดยจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประจำปี 2562-2565(เอกสารหมายเลข 1.7-1) ประกาศนโยบายการบริหารและพัฒนาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2562 (เอกสารหมายเลข 1.7-2) แปลงสู่แผนปฏิบัติงานประจำปี (Action Plan) สำนักวิทยบริการ ปีงบประมาณ 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 7 (เอกสารหมายเลข 1.7-3) แผนปฏิบัติงานประจำปี (Action Plan) สำนักวิทยบริการ ประจำปีงบประมาณ 2562 ยุทธศาสตร์ที่ 5 (เอกสารหมายเลข 1.7-4) ตลอดจนจัดนิทรรศการเผยแพร่ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม "บ้านรักษ์โลก" (เอกสารหมายเลข 1.7-5)
1.8 ห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และตรงตามความต้องการของชุมชนและสังคม 1.8 สำนักวิทยบริการมีการจัดหา จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และตรงตามความต้องการของชุมชนและสังคม ได้จำนวน 11,575 ชื่อเรื่อง 20,402 รายการ คิดเป็นร้อยละ 5.03 ของทรัพยากรทั้งหมด ดังสรุปจำนวนทรัพยากร ร้อยละ 5.03 และสถิติการยืม-คืนทรัพยากร (เอกสารหมายเลข 1.8-1) และรายชื่อทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม http://lib3.msu.ac.th/search?/ftlist^bib35%2C1%2C0%2C2901/mode=2 ]
1.9 ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.9 สำนักวิทยบริการ เป็นห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย มีการจัดกิจกรรมและบริการการเรียนรู้หลายหลายประเภท เช่น จัดนิทรรศการเผยแพร่ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม "บ้านรักษ์โลก" (เอกสารหมายเลข 1.9-1) ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวรูปแบบต่างๆ อาทิ ประชาสัมพันธ์ความรู้และบริการบนเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ https://library.msu.ac.th/th/?cat=6 (เอกสารหมายเลข 1.9-2-1) เว็บไซต์ MSU Green Library https://library.msu.ac.th/msugreenlibrary/ ประชาสัมพันธ์บนเฟสบุ๊กส์สำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.9-2-3) และ ประชาสัมพันธ์บน LINE ของสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.9-2-4) นอกจากนี้ยังได้จัดโครงการสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2562 : MSU Green Library ที่สอดคล้องและตอบสนองนโยบายการพัฒนาสู่ห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 1.9-5) จัดทำบรรณนิทัศน์ส่งเสริมการอ่านหนังสือด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.9-6) และจัดทำฐานข้อมูลบรรณนิทัศน์หนังสือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเผยแพร่และแนะนำหนังสือที่หน้าสนใจ http://golden.msu.ac.th/bibliography/
1.10 บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.10.1 สำนักวิทยบริการ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดย
     1) ปี พ.ศ. 2559 ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว” และได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดโครงการด้วยแบบประเมินความ ความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าโครงการ ซึ่งผลการประเมิน พบว่า บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการห้องสมุดสีเขียวอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยที่ 3.39) เมื่อได้รับการอบรมบุคลากรได้ความรู้และได้แนวปฏิบัติการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.48) (เอกสารหมายเลข 1.10-1)
     2) ปี พ.ศ. 2560 ได้จัดโครงการอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง “การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงาน” ผลการประเมินพบว่าบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ยที่ 2.36) หลังเข้ารับการอบรมบุคลากรได้แนวทางการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 3.64) (เอกสารหมายเลข 1.10-2)
     3) ปี พ.ศ. 2561 จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสานักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เรื่อง “การเตรียมความพร้อมสาหรับรองรับการตรวจประเมินห้องสมุด สีเขียว” ผลการประเมิน พบว่า ก่อนรับการอบรมบุคลากรมีความรู้ในเรื่องห้องสมุดสีเขียวอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยที่ 2.85) และเมื่อได้รับการอบรมแล้ว บุคลากรได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.08) (เอกสารหมายเลข 1.10-3)
     4) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักวิทยบริการได้ทดสอบความรู้ และสอบถามพฤติกรรมของบุคลากร โดยใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า บุคลากรที่ได้ทดสอบความรู้จำนวนทั้งหมด 65 คน ได้คะแนนเฉลี่ยที่ 8.27 จากคะแนนเต็ม 10 และ ผลการสอบถามพฤติกรรมเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยรวมบุคลากรมีการปฏิบัติเป็นประจำทุกด้าน (เอกสารหมายเลข 1.10-4)
     และได้ทำการประเมินความรู้การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (MSU Green Library) ของบุคลากร ประจำปีการศึกษา 2562 พบว่า ผลการประเมินความรู้ ตอนที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ยที่ 9.50 จากคะแนนเต็ม 10 และผลการประเมินความรู้ ตอนที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ยที่ 8.89 จากคะแนนเต็ม 10 (เอกสารหมายเลข 1.10-5)
     1.10.2 ในส่วนของผู้ใช้บริการ สำนักวิทยบริการได้มีการประเมินผลต่อการใช้บริการ ดังนี้
        1) ปีการศึกษา 2560 ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04) จำแนกตามข้อคำถาม พบว่า สภาพแวดล้อมสะอาดเป็นระเบียบเอื้อต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24) อุณหภูมิและแสงสว่างมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07) (เอกสารหมายเลข 1.10-6)
        2) ปีการศึกษา 2562 สำนักวิทยบริการได้มีการประเมินความรู้การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (MSU Green Library) ของผู้ใช้บริการ ประจำปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมผู้ใช้บริการมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 1.10.7)
        3) งบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการสัปดาห์ห้องสมุดประจำปี 2562 : MSU GREEN LIBRARY ในระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2562 โดยได้สอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 450 คน ที่มาต่อการจัดนิทรรศการ MSU Green Library มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31) และการประกวด MSU Green Library (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25) (เอกสารหมายเลข 1.10-8)
1.11 ห้องสมุดมีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะและของเสีย โดยใช้หลักการและเครื่องมือที่เหมาะสม 1.11 สำนักวิทยบริการได้จัดทำแผนการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรและพลังงานเพื่อประกอบการดำเนินงาน (เอกสารหมายเลข 1.11-1) โดยมีการดำเนินกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนักรู้ และส่งเสริมการปฏิบัติตนของบุคลากรและผู้ใช้บริการหลายอย่าง ในการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะและของเสีย ได้แก่ จัดทำ มาตรการการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เอกสารหมายเลข 1.11-2) เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอด LED (เอกสารหมายเลข 1.11-3) ปรับปรุงโครงสร้างหลังคาโดมกลางอาคาร เพื่อลดความสว่างจากแสงแดดมากเกินไป (เอกสารหมายเลข 1.11-4) ปลดหลอดไฟฟ้าบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอแล้ว (เอกสารหมายเลข 1.11-5) จัดทำป้ายรณรงค์ส่งเสริม 3ป (ปิด ปรับ ปลด) 1ล (ลด) 1ย (แยก) (เอกสารหมายเลข 1.11-6) จัดทำมาตรฐาน 8 ส ของสำนักวิทยบริการเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของบุคลากร (เอกสารหมายเลข 1.11-7) จัดให้มีถังขยะแยกตามประเภทที่กำหนดไว้ (เอกสารหมายเลข 1.11-8) มีการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการขยะของมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 1.11-9) มีการนำกระดาษหน้าเดียวกลับมาใช้ซ้ำ (เอกสารหมายเลข 1.11-10) อนุญาตและส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการนำแก้วน้ำส่วนตัวเข้ามาใช้ในสำนักวิทยบริการ เพื่อลดปริมาณขวดน้ำ และแก้ปัญหาการไม่อนุญาตให้เอาแก้วน้ำพลาสติกบางเข้ามาดื่มในสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.11-11) มีการนำวัสดุครุภัณฑ์กลับมาดัดแปลงใช้ใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.11-12) มีการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ล้างแอร์ เปิดหน้าต่างเมื่อไม่เปิดแอร์ รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 1.11-13) (เอกสารหมายเลข 1.11-14)
ยุทธศาสตร์
1.12 มีการกำหนดให้นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุด 1.12 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2562 สำนักวิทยบริการ ได้มีนโยบายการบริหารแลพัฒนาสำนักวิทยบริการ โดยมีการบรรจุนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน 1.12-1 นโยบายการบริหารและพัฒนาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2560 (เอกสารหมายเลข 1.12-1) 1.12-2 นโยบายการบริหารและพัฒนาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2561 (เอกสารหมายเลข 1.12-2) 1.12-3 นโยบายการบริหารและพัฒนาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2562 (เอกสารหมายเลข 1.12-3) 1.12-4 แผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประจำปีงบประมาณ 2562-2565 (เอกสารหมายเลข 1.12-4)
1.13 มีการแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน 1.13 สำนักวิทยบริการ มีการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ในประเทศ ดังสถิติ 1.13-1 สถิติการบริการยืมระหว่างห้องสมุด ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 และ ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (เอกสารหมายเลข 1.13-1) 1.13-2 รายงานจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากร สารสนเทศทั้งหมด [ สรุปจำนวนทรัพยากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และสถิติการยืม ]
1.14 มีการสร้างเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว พัฒนาความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.14 สำนักวิทยบริการ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น “ห้องสมุดสีเขียว” จึงได้เข้าการเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โดยได้ลงนามความข้อตกลงทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว (MOU) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ (เอกสารหมายเลข 1.14-1) สำนักวิทยบริการได้มีความร่วมมือกับ 2 หน่วยงาน จัดโครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (เอกสารหมายเลข 1.14-2-1) ได้แก่ ร่วมกับ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ให้ชุมชน ในโครงการวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (เอกสารหมายเลข 1.14-2-2) ร่วมกับจังหวัดมหาสารคาม จัดนิทรรศการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ และกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้บริการกับชุมชนในงานบุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม ประจำปี 2562 (เอกสารหมายเลข 1.14-2-3)
1.15 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 1.15 ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี สำนักวิทยบริการได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว และการเตรียมความพร้อมรับการประเมินเข้าสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ (เอกสารหมายเลข 1.15-1) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาสำนักวิทยบริการ สู่ห้องสมุดสีเขียว 2559 โดยมีกิจกรรมให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.15-2) ส่งตัวแทนสำนักฯ เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายสำนักงานสีเขียวภาครัฐ (เอกสารหมายเลข 1.15-3) ส่งตัวแทนสำนักฯ เข้าร่วมอบรมเรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลห้องสมุด (เอกสารหมายเลข 1.15-4) และ ส่งตัวแทนสำนักฯ เข้าร่วมประชุมความร่วมมือทางวิชาการและฝึกอบรมพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวและการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 1.15-5) เป็นต้น
1.16 มีการประเมินผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยใช้ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม 1.16 สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว เกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้า ขยะ และการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว ดังรายละเอียดตัวชี้วัด และตัวบ่งชี้ ที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย และสำนักวิทยบริการพัฒนาขึ้น ดังนี้ 1.16-1 ตัวบ่งชี้ บ่งชี้ 2.4 ระดับความสำเร็จการพัฒนาสู่ห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ใน รายงานการประเมินตนเอง (SAR) การประกันคุณภาพการศึกษา วงรอบปีการศึกษา 2560 (เอกสารหมายเลข 1.16-1) 1.16-2 ตัวชี้วัด ใน รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เอกสารหมายเลข 1.16-2) 1.16-3 ตัวชี้วัด ใน รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (เอกสารหมายเลข 1.16-3) 1.16-4 ตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (เอกสารหมายเลข 1.16-4)
2. มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว 2. สำนักวิทยบริการ โดยบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (SWOT) ทุกด้าน และนำไปสู่การกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเป็นห้องสมุดสีเขียว ทุกปี ดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (SWOT) ปีงบประมาณ 2561 : ยุทธศาสตร์ที่ 7 (เอกสารหมายเลข 2.1) 2.2 การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (SWOT) ปีงบประมาณ 2562 : ยุทธศาสตร์ที่ 5 (เอกสารหมายเลข 2.2) 2.3 แผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 2.3) 2.4 แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 พันธกิจที่ 5 พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียวยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 2.4)
3. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดำเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรมของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสำคัญในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบในกรณีที่ไม่ดำเนินการทั้งหมด 3. สำนักวิทยบริการ กำหนดให้มีการดำเนินงานพัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียวทุกด้าน ดัง แผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 3.1) ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทุกด้าน ดังรายงานผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ สำนักวิทยบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 รอบ 10 เดือน (เอกสารหมายเลข 3.2) และวางแผนดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน แผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2565 (เอกสารหมายเลข 3.3)