หมวด 8

การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน (เอกสารหลักฐาน)
8.1 มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)      สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยได้ดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ในยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและรักษ์สิ่งแวดล้อม กำหนดตัวชี้วัดที่ 7.1.2 และคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตัวชี้วัดที่ 7.1.1 ระดับความสำเร็จของการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (เอกสารหมายเลข 8.1-1) และได้กำกับติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ยังได้มีการติดตามผลในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 8.1-2) และมีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม (EUI) (เอกสารหมายเลข 8.1-3)
8.2 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นำมา Reuse, Recycle เพิ่มขึ้น      สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยได้ดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ 7.1.2 ระดับความสำเร็จของการบริหารขยะ และได้กำกับติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นประจำทุกเดือน และการประชุมคณะกรรมการบริหารงานสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 8.2-1) สำหรับการกำจัดขยะของ สำนักวิทยบริการเริ่มดำเนินการบันทึกการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2561 โดยกำหนดให้แม่บ้าน ที่รับผิดชอบดูแลแต่ละพื้นที่จัดเก็บขยะที่จะต้องส่งกำจัด ขยะที่ส่งจำหน่าย ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ แล้วนำมาชั่งน้ำหนัก (เอกสารหมายเลข 8.2-2) พบว่า ในปี พ.ศ. 2560 มีปริมาณขยะ ทั้งสิ้น 21,766 กิโลกรัม ในจำนวนนี้เป็นขยะที่ส่งกำจัดจำนวน 20,600 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิลที่ส่งจำหน่าย จำนวน 1,160 กิโลกรัม และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นกระดาษ จำนวน 6 กิโลกรัม สำหรับในปี 2561 มีปริมาณขยะทั้งสิ้น 21,225.18 กิโลกรัม ในจำนวนนี้เป็นขยะที่ส่งกำจัดจำนวน 20,106.50 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิลที่ส่งจำหน่าย จำนวน 1,079.80 กิโลกรัม และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นกระดาษ จำนวน 38.88 กิโลกรัม แสดงให้เห็นว่า ปริมาณขยะของสำนักวิทยบริการ มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง
     เมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะแยกตามประเภท พบว่า
       1. ขยะที่ส่งกำจัด ในปี พ.ศ. 2560 - 2561 พบว่า มีจำนวนลดลง 493.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 2.40
       2. ขยะที่ส่งจำหน่าย พบว่า มีจำนวนลดลง 80.20 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 6.91
       3. ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นกระดาษ พบว่ามีขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นกระดาษ A4 เพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 32.88 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 548 (เอกสารหมายเลข 8.2-3)
8.3 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย       มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน ในการจัดการน้ำเสีย โดยกองอาคารสถานที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2562 (เอกสารหมายเลข 8.3-1) สำนักวิทยบริการได้นำกรอบการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมาจัดทำแผนการจัดการของเสียและมลพิษ ในการบริหารจัดการน้ำเสียขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข 8.3-2) และเพื่อการบริหารจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม สำนักวิทยบริการได้ติดตั้งถังดักไขมันและที่กรองน้ำเสีย ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับบุคลากร ชะล้างภาชนะใส่อาหาร เพื่อไม่ให้มีน้ำเน่าเสียและท่อน้ำอุดตัน ทั้งนี้ทุกสัปดาห์จะมีแม่บ้านตักไขมันและทำความสะอาดถังเป็นประจำเพื่อเป็นการจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการ ก่อนปล่อยลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 8.3-3) สำนักวิทยบริการ ได้ขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 8.3-4) ซึ่งผลจากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสียที่กองอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้¬ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว¬ตั้งแต่ เดือน ธันวาคม 2561 ถึง มีนาคม 2562 พบว่ามีค่าเฉลี่ย พี เอช เท่ากับ 8.1 บีโอดี เท่ากับ 9.7 มก./ล. และของแข็งละลายน้ำเท่ากับ 276.6 มก./ล. ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาคารประเภท ก ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม¬ พ.ศ. 2548 (เอกสารหมายเลข 8.3-5) ในส่วนของสำนักวิทยบริการได้มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการนำเสีย พบว่า ไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลสถิติคุณลักษณะน้ำเสียเข้าระบบบำบัด (เอกสารหมายเลข 8.3-6)
8.4 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จำนวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น      สำนักวิทยบริการมีแผนการจัดการของเสียและมลพิษด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ (เอกสารหมายเลข 8.4-1) และแผนการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ มีการติดตามผลการดูแลรักษา โดยได้ดำเนินการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในช่วงเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม ของทุกปี โดยกองอาคารสถานที่ (เอกสารหมายเลข 8.4.2) สำนักวิทยบริการ ได้มีการรณรงค์งดสูบบุหรี่และติดป้ายรณรงค์เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ พร้อมทั้งเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายใน และภายนอกอาคารในช่วงที่ยังไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ มีการทำความสะอาด และดูดฝุ่นพื้น (เอกสารหมายเลข 8.4.3) นอกจากนี้สำนักวิทยบริการยังให้ผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ทางระบบออนไลน์ และระบบการประเมินผลความพึงพอใจ ความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีต่อด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ไม่มีข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ เช่น ระบบปรับอากาศไม่ค่อยเย็นบางโซน อยากให้ห้องสมุดเปิด-ปิดแอร์ตามเวลาทำการ แสงสว่างบางมุมยังไม่สว่างเพียงพอ ต้องการสบู่และกระดาษชำระในห้องน้ำ เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 8.4.4)
8.5 มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นองค์กรต่อจำนวนผู้มารับบริการ เป็นต้น      สำนักวิทยบริการได้จัดอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง “การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงาน” เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ (เอกสารหมายเลข 8.5-1) และได้กำหนดแผนการติดตามผลดำเนินงานการลดปริมาณก๊าชเรือนกระจก (เอกสารหมายเลข 8.5-2) สำหรับการคำนวณค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรของสำนักวิทยบริการปี พ.ศ. 2561 มีปริมาณการปล่อยกาซ์เรือนกระจก เท่ากับ 425,6001 kgCO2e/ปี แบ่งตามขอบเขต ประเภทที่ 1 Diesel เท่ากับ 2,199.44 การปล่อยสารมีเทนจากระบบ septic tank เท่ากับ 8,437.52 ประเภทที่ 2 การใช้พลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 410,224.92 และการใช้กระดาษ A4 และA3 สีขาว เท่ากับ 126.58 และประเภทที่ 3 การใช้น้ำประปาเท่ากับ 4,612.53
     นอกจากนี้สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการตรวจสอบการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเปรียบเทียบ ปี 2560-2561 พบว่ามีการใช้ไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 113,040 kWh/ปี คิดเป็นปริมาณลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 65,801 kgCO2e/ปี และมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อจำนวนผู้มารับบริการคิดเป็นร้อยละ 35.3
     และผลการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อจำนวนผู้มาใช้บริการ (kgCO2e/คน∙ปี) พบว่า ปี พ.ศ. 2560 เท่ากับ 1.70 และปี พ.ศ. 2561 เท่ากับ 1.10 (เอกสารหมายเลข 8.5-3 , เอกสารหมายเลข 8.5-4)
8.6 มีประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่นร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ หรือร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ เป็นต้น      สำนักวิทยบริการ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดย
     1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว” และได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดโครงการด้วยแบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าโครงการ ซึ่งผลการประเมิน พบว่า บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการห้องสมุดสีเขียวอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยที่ 3.39) เมื่อได้รับการอบรมบุคลากรได้ความรู้และได้แนวปฏิบัติการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.48) (เอกสารหมายเลข 8.6-1)
     2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้จัดโครงการอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง “การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงาน” ผลการประเมินพบว่าบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ยที่ 2.36) หลังเข้ารับการอบรมบุคลากรได้แนวทางการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 3.64) (เอกสารหมายเลข 8.6-2)
     3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสานักวิทยบริการ สู่ห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เรื่อง “การเตรียมความพร้อมสาหรับรองรับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว” ผลการประเมิน พบว่า ก่อนรับการอบรมบุคลากรมีความรู้ในเรื่องห้องสมุดสีเขียวอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยที่ 2.85) และเมื่อได้รับการอบรมแล้ว บุคลากรได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยที่ 4.08) (เอกสารหมายเลข 8.6-3)
     4. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักวิทยบริการได้ทดสอบความรู้ และสอบถามพฤติกรรมของบุคลากร โดยใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า บุคลากรที่ได้ทดสอบความรู้จำนวนทั้งหมด 65 คน ได้คะแนนเฉลี่ยที่ 8.27 จากคะแนนเต็ม 10 และ ผลการสอบถามพฤติกรรมเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยรวมบุคลากรมีการปฏิบัติเป็นประจำทุกด้าน (เอกสารหมายเลข 8.6-4)
     และได้ประเมินความรู้การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (MSU Green Library) ของบุคลากร ประจำปีการศึกษา 2562 พบว่า ผลการประเมินความรู้ตอนที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ยที่ 9.50 จากคะแนนเต็ม 10 และผลการประเมินความรู้ ตอนที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ยที่ 8.89 จากคะแนนเต็ม 10 (เอกสารหมายเลข 8.6-5)
     ในส่วนของผู้ใช้บริการ สำนักวิทยบริการได้มีการประเมินผลต่อการใช้บริการ ดังนี้
     1. ปีการศึกษา 2560 ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกโดย รวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04) จำแนกตามข้อคำถาม พบว่า สภาพแวดล้อมสะอาดเป็นระเบียบเอื้อต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24) อุณหภูมิและแสงสว่างมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07) (เอกสารหมายเลข 8.6-6)
     2. ปีการศึกษา 2562 สำนักวิทยบริการได้มีการประเมินความรู้การพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (MSU Green Library) ของผู้ใช้บริการ ประจำปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมผู้ใช้บริการมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 8.6-7)
     3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการสัปดาห์ห้องสมุดประจำปี 2562 : MSU GREEN LIBRARY ในระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2562 โดยได้สอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 450 คน ที่มาต่อการจัดนิทรรศการ MSU Green Library มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31) และการประกวด MSU Green Library (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25) (เอกสารหมายเลข 8.6-8)