เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินงาน (เอกสารหลักฐาน) |
---|---|
4.1 มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท | ด้วยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการประกาศนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานบริหารจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย
(เอกสารหมายเลข 4.1-1) และมีคู่มือการจัดเก็บและจัดการขยะภายในของมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 4.1-2) เพื่อให้คณะ/หน่วยงานได้ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
และเพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดการของเสียและมลพิษของสำนักวิทยบริการ มีแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน จึงนำแผนปฏิบัติงาน สำนักวิทยบริการ (Action Plan) ยุทธศาสตร์ที่ 5 (เอกสารหมายเลข 4.1-3) มาเป็นแนวทางจัดทำแผนการดำเนินงานการจัดการของเสียและมลพิษ สำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 4.1-4) ซึ่งโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้มีการดำเนินงานแล้วเสร็จทุกโครงการ/กิจกรรม ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานการจัดการของเสียและมลพิษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 รอบ 6 เดือน (เอกสารหมายเลข 4.1-5) รอบ 9 เดือน (เอกสารหมายเลข 4.1-6) และกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 8 ด้าน เพื่อให้บุคลากรสำนักวิทยบริการถือปฏิบัติ (เอกสารหมายเลข 4.1-7) นอกจากนี้ได้จัดทำแผนผังการจัดการขยะสำนักวิทยบริการ เพื่อแสดงเส้นทางการจัดการขยะให้ชัดเจนมากขึ้น (เอกสารหมายเลข 4.1-8) มีการประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะทั้งบริเวณสำนักฯ และประชาสัมพันธ์รณรงค์ใน Facebook รวมทั้งจัดกิจกรรมประกวดคลิปสั้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีประหยัดพลังงานและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ (Reduce) เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้แก้วลดขยะจากพลาสติก ตลอดจนสปอตรณรงค์ไม่ใช้กล่องโฟมประชาสัมพันธ์ในวิทยุและเสียงตามสายในสำนักฯ (เอกสารหมายเลข 4.1-9) ทั้งนี้สำนักวิทยบริการได้ดำเนินการจัดการขยะที่เหมาะสมดังนี้ 1) ลดปริมาณขยะ (Reduce) โดยได้จัดทำระบบ E-office ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารโดยไม่ใช้กระดาษ เช่นงานสารบรรณ งานประชุมเป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดในการใช้กระดาษและประหยัดงบประมาณ จนเป็นต้นแบบที่ดีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เอกสารหมายเลข 4.1-10) 2) การใช้ซ้ำ (Reuse) โดยนำของที่ใช้แล้วและยังใช้ได้นำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เพื่อช่วยลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น กระดาษ และวัสดุเก่าชำรุดมาซ่อมแซมและนำกลับมาใช้ซ้ำ นำขวด แก้วน้ำพลาสติกมาดัดแปลงใช้ประโยชน์เป็นแจกันใส่ไม้ ประดับ (เอกสารหมายเลข 4.1-11) ซึ่งผลจากการนำกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวกลับมาใช้ซ้ำ ส่งผลทำให้ปริมาณการใช้กระดาษA4 ของสำนักวิทยบริการลดลงอย่างชัดเจน กล่าวคือ ในปี 2560 ใช้กระดาษไป จำนวน 229 รีม ในปี 2561 ใช้ไปจำนวน 203 รีม เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้กระดาษปี 2560-2561 โดยสรุปพบว่า สำนักวิทยบริการใช้กระดาษลดลงจำนวน 26 รีม คิดเป็นร้อยละของการใช้กระดาษที่ลดลง ร้อยละ 11.35 (เอกสารหมายเลข 4.1-12) 3) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) จัดกิจกรรม DIY สำนักฯ รักษ์โลก โดยนำป้ายไวนิลที่ไม่ใช้แล้วมาดัดแปลงทำเป็นกระเป๋าใส่หนังสือ ใส่ของต่างๆ (เอกสารหมายเลข 4.1-13) จากการที่สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยจัดพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด โดยจัดวางถังขยะแยกประเภทขยะ ได้แก่ ขยะเปียก ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับนิสิต และบุคลากร ได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะรักษาสิ่งแวดล้อม มีการตรวจสอบความถูกต้อง และจดบันทึกปริมาณขยะ (เอกสารหมายเลข 4.1-14) ผลจากการดำเนินงาน ดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณขยะสำนักวิทยบริการมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการเปรียบเทียบพบว่า โดยรวมในปี 2560 มีปริมาณขยะทั้งสิ้น 21,766 กิโลกรัม ปี 2561 มีปริมาณขยะ 21,225.18 กิโลกรัม ซึ่งสำนักวิทยบริการสามารถลดปริมาณขยะลงได้ 540.82 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละที่สามารถลดปริมาณขยะได้ ร้อยละ 2.48 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะแยกตามประเภท พบว่า 1) ขยะที่ส่งกำจัด ในปี พ.ศ. 2560-2561 พบว่ามีจำนวนลดลง 493.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละที่ลดลงของปริมาณขยะที่ส่งกำจัด ร้อยละ 2.40 2) ขยะที่ส่งจำหน่าย ในปี พ.ศ. 2560-2561 พบว่า มีจำนวนลดลง 80.20 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละที่ลดลงของปริมาณขยะที่ส่งจำหน่าย ร้อยละ 6.91 3) ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นกระดาษ พบว่า ในปี พ.ศ. 2560-2561 พบว่า สำนักวิทยบริการมีขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่เป็นกระดาษ A4 เพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 32.88 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้นของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ที่เป็นกระดาษ A4 ร้อยละ 548 (เอกสารหมายเลข 4.1-15) |
2. มีแผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีแผนในการจัดการน้ำเสียของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานบริหารจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ (เอกสารหมายเลข 4.2-1) โดยสำนักวิทยบริการได้นำกรอบการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมาจัดทำแผนการดำเนินงานการจัดการของเสียและมลพิษ ในการบริหารจัดการน้ำเสีย ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข 4.2-2) และเพื่อการบริหารจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม สำนักวิทยบริการได้เลือกแนวทางการจัดการน้ำเสีย ดังนี้ 1) เลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งทำความสะอาดห้องน้ำ พื้นห้อง และกระจก โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ กรีนมายด์ (greenmind) (เอกสารหมายเลข 4.2-3) 2) ติดตั้งถังดักไขมันและที่กรองน้ำเสีย ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับบุคลากร ชะล้างภาชนะใส่อาหาร เพื่อไม่ให้มีน้ำเน่าเสียและท่อน้ำอุดตัน ทั้งนี้ทุกสัปดาห์จะมีแม่บ้านตักไขมันและทำความสะอาดถังเป็นประจำ (เอกสารหมายเลข 4.2-4) เพื่อเป็นการจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการ ก่อนปล่อยลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 4.2-5) สำนักวิทยบริการ ได้ขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินการศึกษาประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพรวมถึงคุณภาพน้ำของสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 4.2-6) ซึ่งผลจากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสียที่กองอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้¬ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้¬วตั้งแต่ เดือน ธันวาคม 2561 ถึง มีนาคม 2562 พบว่ามีค่าเฉลี่ย พี เอช เท่ากับ 8.1 บีโอดี เท่ากับ 9.7 มก./ล. และของแข็งละลายน้ำเท่ากับ 276.6 มก./ล. ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอาคารประเภท ก ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้¬อม พ.ศ. 2548 (เอกสารหมายเลข 4.2-7) ในส่วนของสำนักวิทยบริการได้มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการนำเสีย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลสถิติคุณลักษณะน้ำเสียเข้าระบบบำบัด (เอกสารหมายเลข 4.2-8) |
3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด | สำนักวิทยบริการมีแผนการจัดการของเสียและมลพิษ ด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ (เอกสารหมายเลข 4.3-1) โดยทำความสะอาด กำจัดฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานทำความสะอาดมีความชัดเจน จึงได้กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ พื้นที่ปฏิบัติงาน และผู้ควบคุมดูแลตรวจผลการปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข 4.3-2) มีการรณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่ ในสำนักวิทยบริการมาอย่างต่อเนื่อง ตามที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 (เอกสารหมายเลข 4.3-3) นอกจากนี้ยังจัดโครงการชั้นหนังสือปลอดฝุ่น โดยเริ่มเมื่อปี 2553 และยังมีกิจกรรมทำความสะอาดกำจัดฝุ่นละอองชั้นหนังสือ รวมทั้งบริเวณต่างๆ ในสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 4.3-4) ทุกเช้าต้องเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศหมุนเวียนและถ่ายเทอากาศ (เอกสารหมายเลข 4.3-5) จัดกิจกรรม Big Cleaning Day (เอกสารหมายเลข 4.3-6) จัดกิจกรรมสะอาดเป็นระเบียบสวยงามด้วย 8 ส (เอกสารหมายเลข 4.3-7) รวมทั้งมีการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยได้กำหนดแผนการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ และติดตามผลการดูแลรักษา โดยได้ดำเนินการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในช่วงเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม ของทุกปี โดยกองอาคารสถานที่ (เอกสารหมายเลข 4.3-8) ผลจากการตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่ต่าง ๆ ของสำนักวิทยบริการ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้¬วยเครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบเลเซอร์ (Dust Trak II Model, TSI Inc., USA) โดยเครื่องบันทึกค่าความเข้¬มข้¬นฝุ่นอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติทุกๆ 1นาที ทำการตรวจวัดวันที่ 3, 4 และ 5 เมษายน 2562 ที่บริเวณที่นั่งอ่านหนังสือของชั้น 3, 2 และ 4 ตามลำดับ ผลการตรวจวัดพบระดับ PM2.5 มีค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ชั่วโมง เท่ากับ 78±5, 41±1 และ 76±3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซึ่งระดับ PM2.5 ในสำนักวิทยาบริการมีบางช่วงเวลาที่เกินค่ามาตรฐานไปบ้¬าง แต่ทั้งนี้การตรวจวัดเป็นค่าเฉลี่ยในช่วง 1 ชั่วโมง ซึ่งถ้¬าตรวจวัดเพื่อหาค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอาจมีค่าเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ได้ (เอกสารหมายเลข 4.3-9) |
4. มีการดำเนินการกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย | สำนักวิทยบริการ ได้จัดโครงการกิจกรรม 8 ส ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม สิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์สู่สังคม ทั้งนี้เพื่อสร้างระเบียบวินัย สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำให้บุคลากรตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมไปถึงการสร้างความสามัคคีในการทำงาน (เอกสารหมายเลข 4.4-1) จัดทำมาตรฐาน 8 ส. สำนักวิทยบริการ ขึ้น (เอกสารหมายเลข 4.4-2) จัดการอบรมให้ความรู้เรื่อง 8 ส. แก่บุคลากรกร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 (เอกสารหมายเลข 4.4-3) และมีการประเมินกิจกรรม 8ส โดยคณะกรรมการตรวจประเมินภายใน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ประเมินรายบุคคล และระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2562 ประเมินพื้นที่ส่วนกลาง (เอกสารหมายเลข 4.4-4) |
5. แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และ วาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ | สำนักวิทยบริการมีความตระหนักถึงภัยของเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นและทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สิน ร่างกาย และจิตใจของผู้ใช้บริการและบุคลากร ตลอดจนภาพลักษณ์ขององค์กร เช่น เหตุอัคคีภัย ดังนั้น จึงมีการกำหนดแผนเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (เอกสารหมายเลข 4.5-1) และนำการป้องกันอัคคีภัย ให้อยู่ในแผนการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานที่เสนอต่อมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 4.5-2) จัดทำหนังสือเวียนแจ้งบุคลากรเพื่อขอความร่วมมือในการป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารสำนักวิทยบริการ ถือเป็นมาตรการให้บุคลากรทุกคนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด (เอกสารหมายเลข 4.5-3) จัดทำคู่มือการอพยพหนีไฟ (เอกสารหมายเลข 4.5-4) จัดทำแผนผังทางหนีไฟ (เอกสารหมายเลข 4.5-5) และมีการตรวจความพร้อมการใช้งานถังดับเพลิง เป็นประจำทุกเดือน อีกทั้งกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้ามาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอตามกำหนดเวลา สำหรับในปี 2562 ได้เข้ามาตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 (เอกสารหมายเลข 4.5-6) รวมทั้งได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยจัดการอมรมซ้อมแผนดับเพลิงและอพยพหนีไฟ และได้จัดกิจกรรมซักซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดอัคคีภัยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 (เอกสารหมายเลข 4.5-7) นอกจากนี้หากเกิดปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ขาดแคลนน้ำใช้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและบุคลากร เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว สำนักวิทยบริการ ได้ทำการสำรองน้ำไว้ใช้โดยมีถังสำรองน้ำใต้ดินบรรจุน้ำ 76.8 ลูกบาศก์เมตร และถังสำรองน้ำบนดาดฟ้าบรรจุน้ำ 72.576 ลูกบาศก์เมตร (เอกสารหมายเลข 4.5-8) |