หมวด 3

การจัดการทรัพยากรและพลังงาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน (เอกสารหลักฐาน)
มีแผนงานและมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร      1. สำนักวิทยบริการมีการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวโดย จัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (เอกสารหมายเลข 3.1-1) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (เอกสารหมายเลข 3.1-2) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานต่อไป รวมทั้งได้จัดทำแผนการดำเนินงาน ได้กำหนดแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรและพลังงาน (เอกสารหมายเลข 3.1-3) ซึ่งโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้มีการดำเนินงานแล้วเสร็จทุกโครงการ/กิจกรรม ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 รอบ 6 เดือน (เอกสารหมายเลข 3.1-4)รอบ 9 เดือน (เอกสารหมายเลข 3.1-5) และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหมวดที่ 3 รอบ 6 เดือน (เอกสารหมายเลข 3.1-6) และรอบ 9 เดือน (เอกสารหมายเลข 3.1-7)
     กำหนดให้มีนโยบายด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการบริหารงานห้องสมุด นโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 3.1-8) และเพื่อให้เพื่อดำเนินงานให้บรรลุผล จึงมีการประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว โดยมีรายละเอียดการพัฒนาในยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 3.1-9) อีกทั้งกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจน (เอกสารหมายเลข 3.1-10) จัดทำแผนการดำเนินงานในการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและแผนการดำเนินงานในการลดรายจ่ายในการใช้ทรัพยากร เช่น กระดาษ (เอกสารหมายเลข 3.1-11) ตลอดจนได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว เพื่อช่วยกันดำเนินงานและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน (เอกสารหมายเลข 3.1-12)
     โดยสำนักวิทยบริการได้ดำเนินงานตามแผน นโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ดังนี้
        1.1 ทำกิจกรรม 8 ส (เอกสารหมายเลข 3.1-13) ซึ่งได้ร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดเป็น มาตรฐาน8 ส สำนักวิทยบริการด้วย (เอกสารหมายเลข 3.1-14)
        1.2 กิจกรรมส่งเสริม 3 ป 1 ล 1 โดย 3 ป 1) ปิด -ปิดไฟเมื่อเลิกใช้หรือไม่อยู่ในห้อง - ปิดก๊อกน้ำ -ปิดสวิทไฟที่คอมพิวเตอร์ (ปลั๊ก3ตา) - ปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ 2) ปรับ – ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ - ปรับเวลาเปิด-ปิิดเครื่องปรับอากาศ –ปรับเปลี่ยนการจัดอาหารว่างการประชุม สัมมนาให้นำแก้วน้ำมาเอง 3) ปลด -ปลดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน เช่น กระติกน้ำร้อน ถังน้ำเย็น ปลั๊กพัดลม ปลั๊กคอมพิวเตอร์ ส่วน 1ล ได้แก่ -ลดการใช้พลังงาน (ทางเดียวกันขึ้นรถไปด้วยกัน) -ลดการใช้ลิฟท์ (เดินขึ้นบันได) - ลดการใช้แก้ว/ ขวดพลาสติก (หันมาใช้อุปกรณ์ใช้ซ้ำได้ เช่น แก้วน้ำ กระบอกน้ำแทนพลาสติก และ 1ย คือ การแยกขยะ การจัดการแยกขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะย่อยสลายได้ และขยะอันตรายพร้อมรณรงค์ และสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ (เอกสารหมายเลข 3.1-15)
        1.3 ปรับปรุงโครงสร้างหลังคาและอุดรอยรั่ว เพื่อลดความร้อนและป้องกันน้ำไหลลงรอยรั่ว (เอกสารหมายเลข 3.1-16)
        1.4 ปลดหลอดไฟในบริเวณที่มีแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงพอแล้ว (เอกสารหมายเลข 3.1- 17) สำนักวิทยบริการได้มีการกำกับติดตามการดำเนินงาน ดังสรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามแผน (เอกสารหมายเลข 3.1-18)
มีแผนงานและดำเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร      2. สำนักวิทยบริการ มีการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรโดยมอบหมายให้บุคลากรเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยร่วมกับมหาวิทยาลัย และมีการประชุมการบริหารจัดการขยะระดับมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 3.2-1) โดยสำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการลดปริมาณของเสีย ดังนี้
        2.1 จัดทำแผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 3.2-2)
        2.2 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ทั้งบริเวณสำนักฯ และใน Facebook รวมทั้งจัดกิจกรรมประกวดคลิปสั้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีประหยัดพลังงานและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ (Reduce) เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้แก้วลดขยะจากพลาสติก จัดทำสปอตระชาสัมพันธ์รณรงค์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประชาสัมพันธ์ในวิทยุและเสียงตามสายในสำนักฯ (เอกสารหมายเลข 3.2-3)
        2.3 นำของที่ใช้แล้วและยังใช้ได้นำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เพื่อช่วยลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร (Reuse) เช่น กระดาษ และวัสดุเก่าชำรุดมาซ่อมแซมและนำกลับมาใช้ซ้ำ นำขวด แก้วน้ำพลาสติกมาดัดแปลงใช้ประโยชน์ (เอกสารหมายเลข 3.2-4)
        2.4 ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ ซึ่งพบว่าปริมาณขยะลดลงอย่างต่อเนื่อง (เอกสารหมายเลข 3.2-5)
        2.5 จัดพื้นที่สำหรับรวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด และขยะรีไซเคิลเพื่อส่งจำหน่าย (เอกสารหมายเลข 3.2-6)
        2.6 กำหนดมาตรประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการจัดการอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องใช้ไฟฟ้าสำนักงาน โดยลดการใช้กระดาษ โดยการรณรงค์ให้ใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น ให้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน (เอกสารหมายเลข 3.2-7)
        2.7 มีการจัดให้มีวัสดุสำนักงานที่ใช้ร่วมกันอย่างเป็นสัดส่วน เช่น กรรไกร คัตเตอร์ เครื่องเย็บกระดาษ เครื่องเจาะกระดาษ กบเหลาดินสอ เทปใส กาว เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 3.2-8)
        2.9 สำนักวิทยบริการได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการลดมลพิษให้สิ่งแวดล้อมเช่น โครงการรณรงค์งดสูบบุหรี่ โดยติดป้ายรณรงค์ เปิดเครื่องปรับอากาศให้น้อยลง ทำความสะอาดอย่างเป็นระบบ บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ นำต้นไม้ดูดมลพิษ หรือสารพิษทางอากาศ มาปลูกในสำนักงาน (เอกสารหมายเลข 3.2-9)
        2.10 มีการบันทึกผลการจัดการมลพิษ เช่น บันทึกผลการลดปริมาณของเสีย พบว่าขยะทั้งหมดในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2651 พบว่ามีปริมาณทั้งหมดลดลง เปรียบเทียบปริมาณขยะทั้งหมดในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2651 พบว่ามีปริมาณทั้งหมดลดลง 540.82 กิโลกรัม (คิดเป็นร้อยละ 1.26) โดยปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีจำนวนลดลง 493.50 กิโลกรัม (คิดเป็นร้อยละ 1.21) ขยะรีไซเคิลที่ส่งจำหน่ายมีจำนวนลดลง 80.20 กิโลกรัม (คิดเป็นร้อยละ 1.47) และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ พบว่า ปี พ.ศ. 2560 มีขยะนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 6 กิโลกรัม และในปี พ.ศ. 2561 มีขยะนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 38.88 กิโลกรัม ดังนั้น มีขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 32.88 กิโลกรัม (คิดเป็นร้อยละ 73.26) (เอกสารหมายเลข 3.2-10)
มีข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม      3. สำนักวิทยบริการมีการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 3.3-1) เพื่อควบคุมการดำเนินงานภายในสำนักวิทยบริการให้อยู่ภายใต้การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการตามข้อกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ (เอกสารหมายเลข 3.3-2) และรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง (เอกสารหมายเลข 3.3-3)
มีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดน้ำ และประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กำหนด      4. สำนักวิทยบริการ มีการณรงค์ให้บุคลากร ผู้ใช้บริการเข้าใจเรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า พลังงานน้ำ และทรัพยากร โดยเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศเป็นนโยบายห้องสมุดสีเขียวผ่านเว็บไซต์ ทำหนังสือเวียน นโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว และมาตรการประหยัดพลังงาน ไปยังหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ปิดป้ายประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว และมาตรการประหยัดพลังงาน ในสำนักวิทยบริการ และแจ้งเวียนประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว ไปยังบุคลากรสำนักวิทยบริการเพื่อรับทราบทุกคน (เอกสารหมายเลข 3.4-1) การติดป้าย สติ๊กเกอร์ ประกาศ เป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้บุคลากร และผู้ใช้บริการตระหนักถึงการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ และทรัพยากรในชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน (เอกสารหมายเลข 3.4-2)
มีการกำหนดแผนงานและดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม      5.สำนักวิทยบริการมีการกำหนดแผนงานและดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการกำหนดบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 3.5-1) และกำหนดรูปแบบและแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 3.5-2)
มีแผนการและดำเนินการบำรุงรักษาระบบต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ตามแผนอย่างต่อเนื่อง      6. สำนักวิทยบริการมีแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรและพลังงาน และได้กำหนดแผนย่อยในการดำเนินบำรุงรักษา ระบบปรับอากาศ ระบบลิฟท์ ระบบระบบไฟฟ้า การป้องกันอัคคีภัย และการบำรุงรักษารถยนต์ราชการ ที่มีในห้องสมุด (เอกสารหมายเลข 3.6-1) มีการแจ้งเวียนการเข้ามาบำรุงรักษาระบบต่างๆ (เอกสารหมายเลข 3.6-2) มีระบบตรวจเช็คบำรุงรักษา (เอกสารหมายเลข 3.6-3) และการทำความสะอาดของแม่บ้าน (เอกสารหมายเลข 3.6-4) และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดเพื่อให้งานแล้วเสร็จด้วยความเรียบร้อย (เอกสารหมายเลข 3.6-5)
มีแผนงานและดำเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ      7. สำนักวิทยบริการมีแผนงานและดำเนินงานที่มีการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าตามรายงานผลการใช้ไฟฟ้า(เอกสารหมายเลข 3.7-1) รายงานผลการใช้เชื้อเพลิง (น้ำมัน) (เอกสารหมายเลข 3.7-2) และรายงานผลการใช้กระดาษ (เอกสารหมายเลข 3.7-3) เป็นประจำทุกปี พร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการอย่างชัดเจน
มีแผนงานและดำเนินการด้านการส่งเอกสาร และการเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (eMeeting) หรือระบบอื่นๆ      8. สำนักวิทยบริการมีแผนในการดำเนินงานที่ใช้ทดแทนการดำเนินงานที่ลดการใช้พลังงาน กระดาษเช่นการใช้ระบบประชุมออนไลน์ (เอกสารหมายเลข 3.8-1) http://ilib.msu.ac.th/meeting/ การสื่อสารในองค์กรโดยใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ชัดเจน (เอกสารหมายเลข 3.8-2) http://eds.msu.ac.th/engine/index.php ระบบการลงเวลาโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารหมายเลข 3.8-3) และระบบรับคืนหนังสือและนำส่งเงินค่าปรับที่เน้นการใช้กระดาษให้น้อยที่สุด (เอกสารหมายเลข 3.8-4)
มีแผนงานและดำเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก      9. มีแผนการลดประมาณก๊าซเรือนกระจก (เอกสารหมายเลข 3.9-1) ดำเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจำแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดำเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน โดยมีการบันทึกเป็นตารางแสดงค่าระดับของดัชนีการใช้พลังงาน EUI และ CFO (เอกสารหมายเลข 3.9-2) พร้อมรายงานการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (เอกสารหมายเลข 3.9-3) สำหรับการคำนวณค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรของสำนักวิทยบริการปี พ.ศ. 2561 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 425,6001 kgCO2e/ปี แบ่งตามขอบเขตประเภทที่ 1 Diesel เท่ากับ 2,199.44 การปล่อยสารมีเทนจากระบบ septic tank เท่ากับ 8,437.52 ประเภทที่ 2 การใช้พลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 410,224.92 และการใช้กระดาษ A4 และA3 สีขาว เท่ากับ 126.58 และประเภทที่ 3 การใช้น้ำประปาเท่ากับ 4,612.53 นอกจากนี้สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการตรวจสอบการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเปรียบเทียบปี 2560-2561 พบว่ามีการใช้ไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 113,040 kWh/ปี คิดเป็นปริมาณลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 65,801 kgCO2e/ปี และมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อจำนวนผู้มารับบริการคิดเป็น ร้อยละ 35.3 (เอกสารหมายเลข 3.9-4)