อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
สำนักวิทยบริการมีหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนและมีภารกิจหลักในการสนับสนุน การจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งพัฒนาส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และอนุรักษ์ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสาน ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจในการยกระดับการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาชุมชนและสังคมให้เกิดความยั่งยืน ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย
ปรัชญา (Philosophy)
แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เสริมความรู้ ความคิด ภูมิปัญญา
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำ และสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล
พันธกิจ (Mission)
- จัดหาและบริการสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมทุกหลักสูตรเพื่อสนับสนุน
- การเรียนการสอนและการวิจัย ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- บริการวิชาการแก่ชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานสู่สากล
- บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
- พัฒนาห้องสมุดสีเขียวและรักษ์สิ่งแวดล้อม
ปณิธาน (Determination)
มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการบริการสารสนเทศ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการด้วยจิตสานึกที่ดี
และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ค่านิยมองค์กร (Core Values)
จิตบริการ (Service Mind) : การเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศและความช่วยเหลือด้วยความกระตือรือร้น ให้คาแนะนาที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ มุ่งมั่นสร้างความประทับใจ ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกรวดเร็วถูกต้อง ไม่นั่งรอคอยรับ แต่เป็นฝ่ายริเริ่มให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้และสารสนเทศที่ต้องการ ให้เกิดความทรงจำที่ดีต่อสานักวิทยบริการ
บริหารโปร่งใส (Transparency) : มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และความถูกต้อง ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตรวจสอบได้ ปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม สร้างความไว้วางใจทั้งภายในภายนอก
ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี (Technology) : มุ่งพัฒนาองค์กรให้ทันเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านบริหารจัดการและบริการสารสนเทศ โดยเพิ่มสมรรถนะในการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายในทุกๆระดับเพื่อสร้างความเป็นเลิศในการบริหารและบริการ
มีความร่วมมือ (Cooperation) : มีการสร้างกัลยาณมิตรในวงวิชาชีพและสาขาที่เกี่ยวข้องและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสถาบันบริการสารสนเทศในระดับท้องถิ่นระดับชาติและนานาชาติ เพื่อขยายขีดความสามารถในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนบริหารจัดการ และบริการสารสนเทศที่คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
ยึดถือการเรียนรู้สู่ทีมคุณภาพ (Continuous Learning and Quality ImprovementTeamwork) : บุคลากรมุ่งมั่นพัฒนา เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีการแบ่งปันและต่อยอดความรู้ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน มีกระบวนการทางานร่วมกันทั้งภายในองค์กรและเครือข่ายภายนอก ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อเพิ่มคุณภาพและขีดความสามารถการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ (Objective)
- เพื่อจัดหาและบริการสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมทุกหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานสู่สากล
- เพื่อบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
- เพื่อพัฒนาห้องสมุดสีเขียวและรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมรรถนะหลักของหน่วยงาน
- Access Ability
เข้าถึงง่าย หมายถึง การเข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วทุกที่ทุกเวลา - Resource Sharing
ใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การให้บริการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ - Excellent Services
บริการสร้างสรรค์เป็นเลิศ หมายถึง การให้บริการสารสนเทศด้วยจิตบริการอย่างสร้างสรรค์ - Center for Lifelong Learning
ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง การเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนา ชุมชนและสังคมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
ยุทธศาสตร์ (Strategy)
เพื่อให้สำนักวิทยบริการดาเนินงานตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กาหนดไว้ และให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงกาหนดประเด็นยุทธศาสตร์ของสานักวิทยบริการไว้ 5 ประเด็นดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1
สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานและการจัดอันดับสากล - ยุทธศาสตร์ที่ 2
เป็นแหล่งเรียนรู้ และศูนย์กลางการบริการวิชาการชั้นนาในภาคยุทธศาสตร์ที่ 2 ตะวันออกเฉียงเหนือ
- ยุทธศาสตร์ที่ 3
พัฒนาคลังความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานสู่สากล - ยุทธศาสตร์ที่ 4
พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธภิ าพตามหลักธรรมาภิบาล
- ยุทธศาสตร์ที่ 5
เป็นห้องสมุดดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ