Select Language

บริการขอหมายเลข ISBN / ISSN, CIP / UDC (เฉพาะ นิสิต อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

บริการขอหมายเลข ISBN

          เลขมาตรฐานสากลประจำ (International Standard Book Number : ISBN) คือ เลขรหัสสากล
ที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือทั่วไป มีความมุ่งหมายที่จะกำหนดให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อความสะดวกถูกต้องและรวดเร็ว ในการดำเนินงานด้านควบคุมข้อมูล สิ่งพิมพ์ในระบบคอมพิวเตอร์ ด้านการสั่งซื้อหนังสือ ด้านการแลกเปลี่ยน การสำรวจข้อมูล และการควบคุมสินค้าคงคลังของ

สำนักพิมพ์ อีกทั้งเพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการจัดทำเลขประจำหนังสือให้เป็นมาตรฐานทั่วโลก

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ประกอบด้วยเลข 13 หลัก แบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน คือ รหัส EAN รหัสกลุ่ม (Group Identifier) รหัสสำนักพิมพ์ (Publisher Identifier) รหัสชื่อเรื่อง (Title Identifier) และเลขตรวจสอบ (Check Digit) ที่ได้จากการคำนวณเลขตรวจสอบตามหลักการของ Modulus 10 และต้องปรากฏคำว่าเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ หรือตัวอักษร ISBN นำหน้าทุกครั้งเมื่อมีการตีพิมพ์

ตัวอย่างการพิมพ์เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)

ISBN 978-616-283-561-2

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-616-283-561-2

 

     สิ่งพิมพ์ที่สามารถขอหมายเลข ISBN ได้

     ประเภทสิ่งตีพิมพ์   

  1. หนังสือทั่วไป
  2. สิ่งพิมพ์สื่อประสม (หนังสือ เทป หรือวิดีทัศน์)
  3. แผนที่
  4. สิ่งพิมพ์อักษรเบรลล์

     ประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์

  1. สิ่งพิมพ์ในรูปวัสดุย่อส่วน
  2. วิดีทัศน์
  3. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  4. ซอฟต์แวร์ด้านการศึกษา

     สิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องขอเลข ISBN

  1. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์
  2. สิ่งพิมพ์อายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับ แผ่นโฆษณา
  3. ปฏิทิน สมุดบันทึก เกมต่าง ๆ
  4. หลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา
  5. สมุดภาพระบายสี สมุดแบบฝึกหัด
  6. บัตรอวยพร บัตรคำ
  7. ผลงานทางวิชาการที่ขอปรับระดับในสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ
  8. รายงานการวิจัยของหน่วยงาน
  9. สิ่งพิมพ์ฉบับสำเนาที่ไม่ได้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์

     หลักเกณฑ์การขอเลข ISBN

  1. หนังสือที่ยังไม่เคยพิมพ์
  2. ขอเลขใหม่เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อจัดพิมพ์ครั้งใหม่ (edition)
    กรณีพิมพ์ซ้ำ/เพิ่มเติม (reprint) และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาข้อมูล **ไม่ต้องขอเลขใหม่
  3. หนังสือชื่อเดียวกันแต่ต่างรูปแบบ เช่น ปกแข็ง ปกอ่อน
  4. หนังสือหลายเล่มต่อกัน (Multi volume)

     ขั้นตอนการขอใช้บริการ สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ

  1.      ขอรับบริการจากสำนักวิทยบริการ ผู้มีสิทธิ์ใช้บริการ ได้แก่ นิสิต อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย-มหาสารคาม โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    1.1 กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม  (คลิกที่นี่)

1.2 ผู้รับบริการจะได้รับหมายเลขที่ขอภายใน 3 วันทำการ ตามช่องทางที่แจ้ง

1.3 เอกสารที่ต้องเตรียมประกอบการขอ
1) หน้าปกหนังสือ

2) เอกสารการจัดตั้งหรือเอกสารจดทะเบียนนิติบุคคล เช่น หนังสือ จดทะเบียนจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือหนังสือจัดตั้งสมาคม ฯลฯ ในกรณี ที่ขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือเป็นครั้งแรก

3) หน้าลิขสิทธิ์ของหนังสือ

4) หน้าสารบัญ

5) เรื่องย่อ

1.4 หลังจากตีพิมพ์แล้ว ให้ผู้ใช้บริการนำส่งตัวเล่มหนังสือที่ขอหมายเลขให้สำนักวิทยบริการเพื่อนำส่งให้หอสมุดแห่งชาติ จำนวน 2 ฉบับ พร้อมชำระค่าจัดส่งเอกสารให้หอสมุดแห่งชาติตามจริง
1.5 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า โทรศัพท์

043-754322-40 ต่อ 2405, 2461 หรือช่องทาง E-maillibrary@msu.ac.th  LINE@: @msulibrary

  1. ขอรับบริการด้วยตัวเองโดยตรงจากหอสมุดแห่งชาติ
    2.1 ผู้ใช้บริการขอรับบริการได้ที่ https://e-service.nlt.go.th/

    • ผู้ใช้บริการต้องสมัครสมาชิกในระบบก่อนโดย เลือก สมัครสมาชิก และกรอกข้อมูล

รายละเอียดให้เรียบร้อย หลังจากจากนั้นรอการตรวจสอบและยืนยัน ทางอีเมล
2.3 กรอกคำร้องขอให้ละเอียด และครบถ้วนทุกช่อง โดยเฉพาะช่องที่มีเครื่องหมาย *

2.4 รอรับหมายเลขที่ขอ
2.5 เมื่อได้หมายเลขมาแล้ว สามารถส่งต่อให้ทางโรงพิมพ์นำไปใส่ในตัวเล่ม หรือทำบาร์โค้ด

แปะไว้ที่ปกหลังของหนังสือ

2.6 ติดต่อสอบถามที่ โทรศัพท์: 0-2280-9845 หรือ e-mail: isbn@nlt.go.thissn@nlt.go.th

บริการขอหมายเลข ISSN

        เลขมาตรฐานสากลประจําวารสาร (International Standard Serial Number : ISSN) คือ รหัสเฉพาะ

ที่กําหนดให้แก่สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องแต่ละรายชื่อมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้สําหรับสืบค้นข้อมูล ควบคุม ตรวจสอบ

การรวบรวมวารสาร และแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือการติดต่อต่างๆ  เกี่ยวกับวารสาร  ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว รวมถึงการควบคุมสินค้าคงคลังของสำนักพิมพ์

เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประกอบด้วยตัวเลขอารบิก 8 หลัก และต้องปรากฏคำว่าเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือตัวอักษร ISSN นำหน้าทุกครั้งเมื่อมีการตีพิมพ์ ตามด้วยตัวเลข 4 หลักแรก
คั่นด้วย เครื่องหมายยัติภังค์ (-) และตามด้วยตัวเลข 4 หลักท้าย โดยหลักที่ 8 คือ ตัวเลขตรวจสอบ (Check digit)
ที่ได้จากการคำนวณเลขตรวจสอบตาม หลักการของ Modulus 11

ตัวอย่างการพิมพ์เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)

ISSN 2651-2491

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 2651-2491

     สิ่งพิมพ์ที่สามารถขอเลข ISSN ได้ ประกอบด้วย

        ประเภทสิ่งตีพิมพ์   

  1. วารสาร (Journal)
  2. นิตยสาร (Magazine)
  3. หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
  4. จุลสาร (Booklet)

        ประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์

  1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journal)
  2. นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Magazine)
  3. หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Newspaper)
  4. จุลสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Booklet)

    หลักเกณฑ์การขอเลข ISSN

  1. ต้องเป็นวารสารที่ไม่เคยขอเลขมาตราฐานสากล
  2. เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนชื่อจากวารสารเดิม**ต้องขอเลขใหม่**
  3.     วารสารชื่อเดียวกัน แต่จัดทำในรูปแบบต่างกัน เช่น วารสารฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ **ต้องขอเลขมาตรฐานคนละเลข**
  4. วารสารเดิมที่มีการพิมพ์ด้วยภาษาอื่น**ต้องขอเลขที่ต่างกันให้วารสารภาษานั้น ๆ

     การพิมพ์เลขวารสารบนตัวเล่ม

เลข ISSN กำหนดให้พิมพ์บนวารสาร ในตำแหน่งที่ชัดเจน ดังนี้

  1. หน้าปก มุมขวาบน (เป็นบริเวณที่เหมาะสมที่สุด)
  2. หน้าปกใน
  3. ปกหลัง

                 

     ขั้นตอนการขอใช้บริการ สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ

  1.      ขอรับบริการจากสำนักวิทยบริการ ผู้มีสิทธิ์ใช้บริการ ได้แก่ นักนิสิต อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย-มหาสารคาม โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    1.1 กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม (คลิกที่นี่)

1.2 ผู้รับบริการจะได้รับหมายเลขที่ขอภายใน 3 วันทำการ ตามช่องทางที่แจ้ง

1.3 ไฟล์เอกสารที่ต้องเตรียมประกอบการขอหมายเลข
1) สำเนาหน้าปกวารสาร นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์

2) สำเนาหน้าสารบัญวารสาร นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์

3) กรณีที่เป็นหน่วยงานราชการ ไม่ต้องแนบไฟล์สำเนาหนังสือแสดง การจดแจ้งการพิมพ์ (แบบ พ.2) หากเป็นหน่วยงานเอกชล ต้องแนบไฟล์
1.4 หลังจากตีพิมพ์แล้วให้ผู้ใช้บริการนำส่งตัวเล่มวารสารที่ขอให้สำนักวิทยบริการเพื่อนำส่งให้ หอสมุดแห่งชาติ  จำนวน 3 ฉบับ

  • ชำระค่าจัดส่งเอกสารให้หอสมุดแห่งชาติตามจริง
  • ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า โทรศัพท์

043-754322-40 ต่อ 2405, 2461 หรือช่องทาง E-maillibrary@msu.ac.th  LINE@: @msulibrary

  1. ขอรับบริการด้วยตัวเองโดยตรงจากหอสมุดแห่งชาติ
    2.1 ผู้ใช้บริการขอรับบริการได้ที่ https://e-service.nlt.go.th/
  • ผู้ใช้บริการต้องสมัครสมาชิกในระบบก่อนโดย เลือก สมัครสมาชิก และกรอกข้อมูล

รายละเอียดให้เรียบร้อย หลังจากจากนั้นยืนยันด้วยอีเมล

  • กรอกคำร้องขอให้ละเอียด และครบถ้วนทุกช่อง โดยเฉพาะช่องที่มีเครื่องหมาย *
  • รอรับหมายเลขที่ขอ
  • เมื่อได้หมายเลขมาแล้ว สามารถส่งต่อให้ทางโรงพิมพ์นำไปใส่ในตัวเล่ม หรือทำบาร์โค้ด

แปะไว้ที่ปกหลังของหนังสือ

2.6 ติดต่อสอบถามที่ โทรศัพท์: 0-2280-9845 หรือ e-mail: isbn@nlt.go.thissn@nlt.go.th

 บริการขอจัดทำ CIP การจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ เป็นการวิเคราะห์รายละเอียดของสิ่งพิมพ์ ในลักษณะของบรรณานุกรมในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ก่อนการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ข้อมูล CIP ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่งหรือผู้จัดทำ ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ และพิมพ์ลักษณ์ ได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อื่นๆ ได้แก่ จำนวนหน้า ภาพประกอบ ตาราง หมายเลข ISBN หัวเรื่องหรือการกำหนดคำ/วลีที่ใช้แทนเนื้อหาสำคัญ ซึ่งกำหนดจากคู่มือการให้หัวเรื่อง และเลขหมู่หนังสือที่เป็นสากล ที่ทำให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้น ๆ จัดอยู่ในหมวดหมู่ใด รายละเอียดใน CIP มีข้อมูลมากพอที่ให้บรรณารักษ์ใช้ในการทำบัตรรายการได้ หรือใช้เป็นตัวช่วยในการลงรายการในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ห้องสมุดในการวิเคราะห์รายการทรัพยากรสารสนเทศ โดยอาจมีการดัดแปลงหรือแก้ไขให้ตรงกับนโยบายในการลงรายการของห้องสมุดนั้นๆ หรือให้มีความเหมาะสมกับการให้บริการของห้องสมุดมากขึ้น ทำให้ลดเวลาในการวิเคราะห์หนังสือได้มาก สามารถส่งหนังสือออกให้บริการได้เร็วขึ้น

(ที่มา: http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=53815 )

         

          บริการขอเลขหมวดหมู่ระบบทศนิยมสากล (Universal Decimal Classification : UDC)

การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (Universal Decimal Classification) หรือยูดีซี (UDC) คือ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดและบรรณานุกรมด้วยการจัดการระบบขององค์ความรู้ของมนุษย์ในทุกแขนงวิชา เป็นระบบ

ที่มีความสอดคล้องในสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ยูดีซี เป็นระบบการจัดหมวดหมู่ที่วิเคราะห์และสังเคราะห์รายละเอียดของคำศัพท์และวากยสัมพันธ์ที่ช่วยให้การจัดทำรายการดัชนีของเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพและแก้ไขข้อมูลในรายการใหญ่ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ยูดีซี อยู่ภายใต้การดูแลและจัดการโดยกิจการค้าร่วม

ยูดีซี (UDC Consortium) เป็นสมาคมระหว่างประเทศไม่แสวงหากำไรโดยมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ( ที่มา : https://www.wikiwand.com/th/การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล )

 

  • ผู้ใช้บริการประสงค์ที่จะขอให้สำนักวิทยบริการจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ (CIP) ให้สามารถเลือกได้พร้อมกับการขอหมายเลข ISBN
  • สามารถขอดำเนินการจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ใหม่
  • กรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วน (คลิกที่นี่)
  • ให้บริการแก่นิสิต นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจใช้บริการทั่วไป
  • รอรับข้อมูลทางบรรณานุกรม ผ่านช่องทางที่ท่านเลือก ไม่เกิน 3 วันทำการ
  • ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า โทรศัพท์

043-754322-40 ต่อ 2405, 2461 หรือช่องทาง E-maillibrary@msu.ac.th  LINE@: @msulibrary

เลือกแบบฟอร์มที่ต้องการกรอกคำขอ 📢 *ผู้ใช้บริการ Sign in ด้วยเมล์ @msu.ac.th
1.  บริการขอหมายเลข (ISBN)
2.  บริการขอหมายเลข (ISSN)
3.  บริการขอหมายเลข (CIP/UDC)