สำนักวิทยบริการ มมส ให้บริการห้องละหมาด
สำนักวิทยบริการ มมส ให้บริการห้องละหมาด
สำนักวิทยบริการ อาคารวิทยบริการ A เปิดให้บริการห้องละหมาด ณ บริเวณห้องศึกษาค้นคว้า ซี
(Study Room C) ชั้น 4 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นิสิต ในการปฏิบัติศาสนกิจของศาสนา
อิสลาม โดยจัดให้บริการ 2 ส่วน คือ ห้องละหมาดชาย และห้องละหมาดหญิง ให้บริการตามวัน เวลา
ทำการ สำนักวิทยบริการให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัย มีแอลกอฮอล์ล้างมือ ปฏิบัติตามมาตรการ
ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด
การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้า คือ การแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้แข้มแข็ง การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปในเรื่องต่าง ๆ เป็นภาวะที่จิตใจได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็นเอกภาพกับพระเจ้า ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น อดทน ผู้ที่มีความทุกข์และประสบปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
ชนิดของการละหมาด การละหมาดที่ไคโร, ฌอง-เลออง เจอโรม (Jean-Léon Gérôme)
ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย
1. ย่ำรุ่ง (ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 – 6 โมงเช้า
2. บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง – บ่ายโมงกว่า ๆ
3. เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น
4. พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่า ๆ
5. กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 1 ทุ่มเป็นต้นไป
ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย
ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในนิกายซุนนีเรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติสกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ
ข้อมูลจาก https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/18174 และ https://th.wikipedia.org/